เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. สุมนวรรค 6. กาลทานสูตร
ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม
เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
ทานานิสังสสูตรที่ 5 จบ

6. กาลทานสูตร
ว่าด้วยกาลทา1
[36] ภิกษุทั้งหลาย กาลทาน 5 ประการนี้
กาลทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน
2. ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป
3. ให้ทานแก่ผู้เป็นไข้
4. ให้ทานในสมัยมีภิกษาหาได้ยาก
5. ให้ข้าวอย่างดี และผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล
ภิกษุทั้งหลาย กาลทาน 5 ประการนี้แล
ผู้มีปัญญารู้ความประสงค์ของผู้ขอ2
เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่
ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้

เชิงอรรถ :
1 กาลทาน หมายถึงยุตตทาน คือ การให้ที่เหมาะสม (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/36/22)
2 รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ในที่นี้หมายถึงคฤหัสถ์เมื่อเห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตยืนที่ประตูเรือนของตนเป็น
ผู้นิ่งไม่ออกปากขอ ก็รู้ความหมายได้ว่า ‘ท่านกำลังขอ ซึ่งเป็นการขออย่างพระอริยะ’ เมื่อรู้แล้วก็คิดว่า
‘พวกเราหุงต้มได้ แต่ภิกษุเหล่านี้หุงต้มไม่ได้ แล้วท่านจะหาภัตรได้ที่ไหน‘จึงจัดแจงไทยธรรมถวายท่าน
(องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/36-37/21)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :57 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. สุมนวรรค 7. โภชนทานสูตร
ทานที่ให้ในพระอริยะผู้ซื่อตรง ผู้คงที่
ย่อมเป็นทักษิณาที่ไพบูลย์
ทำให้เขามีใจผ่องใส
ชนเหล่าใดอนุโมทนาหรือขวนขวายในทักษิณานั้น
เพราะการอนุโมทนาหรือขวนขวายของชนเหล่านั้น
ทักษิณาย่อมมีผลไม่พร่อง
แม้พวกเขาก็เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอย
จึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
กาลทานสูตรที่ 6 จบ

7. โภชนทานสูตร
ว่าด้วยการให้โภชนะ
[37] ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ 5 ประการแก่ปฏิคาหก
ฐานะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อายุ 2. วรรณะ
3. สุข 4. พละ
5. ปฏิภาณ1
ครั้นให้อายุแล้ว ย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้ว ย่อมมีส่วนได้วรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมมีส่วนได้สุขอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้ว ย่อมมีส่วนได้
พละอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมมีส่วนได้ปฏิภาณอัน
เป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ 5 ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
1 ปฏิภาณ ในที่นี้หมายถึงยุตตปฏิภาณ คือ ตอบปัญหาได้ถูกต้องตามเนื้อหาสาระและเหตุต่าง ๆ แต่ตอบ
ช้าไม่ตอบเร็ว และมุตตปฏิภาณ คือ ตอบปัญหาได้รวดเร็วในขณะที่ถามทีเดียว (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/132/380)
และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/132/201-202, อภิ.ปุ. (แปล) 36/152-155/187

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :58 }